วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Angiotensin II (AII)

Angiotensin II (AII) เป็นสารสำคัญในเลือดและในเนื้อไตเอง โดยแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้แก่

1. ฤทธิ์ต่อหลอดเลือดและหัวใจ
1.1 AII เป็นสารตีบหลอดเลือดที่มีฤทธิ์รุนแรงมาก ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดต่าง ๆ หดตัวโดยเฉพาะที่ไต ลำไส้และ ผิวหนัง แต่ไม่มีผลต่อหลอดเลือดในกล้ามเนื้อแขนขา
1.2 AII ถ้ามีระดับสูงอยู่นานจะมีผลกระตุ้นการเจริญของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น (hypertrophy)

2. ฤทธิ์ต่อไต
2.1 AII ตีบหลอดเลือดในไตโดยตีบ afferent arteriole ได้มากกว่า efferent arteriole ทำให้เลือดมาเลี้ยงไตน้อยลง อัตราการกรองที่โกลเมอรุลัสลดลงหรือเท่าเดิม
2.2 ทำให้ mesangial cell ที่โกลเมอรุลัสหดตัว ลดพื้นที่ผิวของหลอดเลือดฝอยโกลเมอรุลัส ลดสัมประสิทธิ์ในการกรอง (filtration coefficient, Kf)
2.3 เมื่อ arteriole ตีบมีผลเปลี่ยนแปลง peritubular force โดยทำให้ renal interstitial hydrostatic pressure ลดลง มีผลเพิ่มการดูดกลับของเหลวในหลอดไตส่วนต้น
2.4 เพิ่มการดูดซึมกลับ Na+ และ HCO3- ที่เซลล์หลอดไตส่วนต้นได้โดยตรง พบ AII receptor บนเซลล์ชนิดนี้ทั้งทาง luminal และ basolateral membrane
2.5 ยับยั้งการหลั่ง renin จาก JG cell
2.6 กระตุ้นการสร้างและการหลั่ง prostaglandin และ kallikrein ในเนื้อไต

3. ฤทธิ์ต่อต่อมหมวกไต AII กระตุ้นการสังเคราะห์และการหลั่ง aldosterone จาก zona glomerulosa ของต่อมหมวกไตส่วนเปลือก กระตุ้น zona fasciculata ได้เล็กน้อย aldosterone มีผลเพิ่มการดูดกลับ Na+ พร้อมกับขับ K+ และ H+ ที่หลอดไตส่วน cortical collecting duct

4. ฤทธิ์ต่อระบบประสาท
4.1 AII เพิ่มการทำงานของประสาทซิมพาเธติก และทำให้เซลล์ต่างๆ ไวต่อการกระตุ้นด้วยประสาทซิมพาเธติก
4.2 กระตุ้นศูนย์กระหายน้ำ (thirst center) และอาจเพิ่มการกระหายเกลือ (salt appetite) ได้ด้วย4.3 กระตุ้นการหลั่ง ADH จากต่อมพิตุอิตารีย์ ได้มากขึ้น RAAS มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความดันเลือด ดุลโซเดียม ดุลโปแตสเซียมและดุลน้ำในร่างกายโดยผ่านอวัยวะต่าง ๆ JG cell หลั่ง renin เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคือ
1. แรงดันเลือดในไตลดลง โดยเฉพาะใน glomerular afferent arteriole ซึ่งถือเสมือนเป็น intrarenal baroreceptor
2. มีการกระตุ้นตัวรับ b1 adrenergic ที่ JG cell โดยประสาทซิมพาเธติกที่มาสู่ไตหรือโดยcatecholamine ในเลือด
3. ปริมาณโซเดียมคลอไรด์ที่มาถึงเซลล์ macula densa ของหลอดไตมีจำนวนน้อยลง ดังนั้นผู้ที่กินเค็มจัด renin ในเลือดจึงต่ำลง คนที่กินจืดมากขาดเกลือ renin ในเลือดจึงสูง
4. ฮอร์โมนและสารเคมีอื่น ๆ ในของเหลวนอกเซลล์กระตุ้นการหลั่ง renin ได้ เช่น prostaglandin, kinin histamine, adenosine A2 agonist และยาสลบบางตัว สารบางชนิดยับยั้งการหลั่ง renin ได้แก่ AII, ADH , ANP, Ca2+ adenosine A1 agonist เป็นต้น เนื่องจาก renin มีมากในไต และไตเองก็สามารถสร้าง angiotensinogen กับ ACE หรือรับสารดังกล่าวจากในเลือด ระบบ RAAS จึงมีความสมบูรณ์อยู่ในเนื้อไตคือเกิดขึ้นและทำงานออกฤทธิ์แล้วถูกสลายได้ครบวงจรในไตเรียกว่า real RAAS ซึ่งมีบทบาทควบคุมการทำงานของไตเองทั้งที่โกลเมอรุลัสและหลอดไต ในคนปกติมี angiotensinogen และ ACE อยู่มากเกินพอดังนั้น RAAS จะทำงานมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับระดับ renin ที่ไตสร้างและปล่อยออกมา ACE เป็นเอ็นซัยม์ที่ไม่จำเพาะ นอกจากสลาย AI ได้เป็น AII แล้ว ยังสามารถย่อย bradykinin, metnenkephalin, substance P และ neurotensin ด้วย ACE จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า kininase II ในปัจจุบันมียาที่เป็น ACE inhibitor ยับยั้ง ACE ขัดขวางการสร้าง AII ในขณะเดียวกันจะมีผลให้ kinin เพิ่มขึ้นด้วย จึงอาจเกิดผลข้างเคียงของยาโดยมิใช่ผลจาก RAAS ได้


แหล่งอ้างอิง
http://www.phyathai.com/phyathai/article_disease_sub02_kidneyhorm.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น